บทความน่าสนใจ
ภารกิจพา สกสว. ก้าวสู่องค์กรภาครัฐแห่งอนาคต
ประเทศไทยมีหน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมนับตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว แต่ที่ผ่านมาหลาย ๆ ส่วนยังไม่มีการทำงานที่เป็นระบบ และยังไม่ไปในทิศทางเดียวกันมากนัก จนเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา จึงมีการปฏิรูประบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศครั้งใหญ่ ซึ่งมาพร้อมกับการก่อตั้ง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ สกสว. ขึ้น และเพื่อให้การปฏิรูปครั้งนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สกสว. จึงต้องปฏิรูปองค์กรครั้งใหญ่เช่นกัน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร มาทำความเข้าใจกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เชิญโชค ศรขวัญ รองผู้อำนวยการ สกสว. ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักบริหารและพัฒนาองค์กร ได้จากบทความนี้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เชิญโชค ได้กล่าวถึงสาเหตุที่ต้องปฏิรูปองค์กรว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือ เราอยากส่งมอบคุณค่าให้กับระบบ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ซึ่งการจะส่งมอบคุณค่าให้ได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สุด ต้องอาศัยโครงสร้างขององค์กรเป็นพื้นฐานหลัก แล้วนำสู่การปรับกลยุทธ์ใหม่ เมื่อมีโครงสร้างที่ดีก็จะสนับสนุนกลยุทธ์ที่ดีได้ในที่สุด
“การเปลี่ยนแปลงองค์กรภาครัฐ หลายคนอาจมองว่ายาก แต่จริง ๆ แล้ว ผมมองว่าคือความท้าทาย”
เราอาจไปยึดติดกับเรื่องของกฎระเบียบ ข้อบังคับ แต่สิ่งสำคัญคือเมื่อรู้เป้าหมาย เมื่อมีกลยุทธ์ที่ดีเพื่อตอบวิสัยทัศน์ที่ดีแล้วปรับโครงสร้าง เมื่อมีอะไรติดขัดในแง่กฎระเบียบ ข้อบังคับ คงเป็นประเด็นที่สำคัญที่ต้องมีการปรับ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ อย่าเอาเรื่องของกฎระเบียบ ข้อบังคับ มาเป็นตัวกั้น แต่ต้องเอาเป้าหมายเป็นจุดหลัก เพราะสิ่งสำคัญคือการส่งมอบคุณค่า “ระบบ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” และ ทำให้เกิด Outcome หรือ ผลลัพธ์ ให้ได้มากที่สุด สำหรับองค์กรภาครัฐทุก ๆ องค์กร ผมคิดว่าถ้าเราตั้งเป้าหมายเพื่อทำให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติแล้ว เรื่องกฎระเบียบข้อบังคับจะสามารถปรับปรุงได้อยู่เสมอ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เชิญโชค ได้กล่าวถึงการขับเคลื่อนองค์ภาครัฐว่า เราขับเคลื่อนไปสู่ระบบ Agile Organization คำว่า Agile คือความคล่องตัว ปรับเปลี่ยนง่าย นี่คือสิ่งสำคัญ แต่เมื่อเราปรับเปลี่ยนอะไรแล้ว ย่อมจะกระทบอีกอย่างหนึ่งแน่นอน เวลาปรับเปลี่ยนเราจะต้องดูที่ 6 องค์ประกอบ คือ
- Strategy หรือ กลยุทธ์
- Structure หรือ โครงสร้าง
- System หรือ ระบบ เราต้องปรับระบบให้รองรับกับโครงสร้าง
- Staff หรือ บุคลากร เมื่อโครงสร้างและระบบดีแล้ว คนของเราก็ต้องพัฒนาด้วย
- Style ดูเรื่องสไตล์ของการทำงานและบริหารจัดการ
- Skill ทักษะของผู้บริหารและบุคลากรจะต้องมีการปรับไปพร้อม ๆ กัน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิ่งสำคัญที่ยึดโยง 6 องค์ประกอบไปพร้อม ๆ กัน คือ Share Value หรือ Core Value นั่นคือ ค่านิยมร่วมขององค์กร และทำงานภายใต้ระบบ Matrix Organization หรือหมายถึง ต้องทำงานร่วมกัน มีการบูรณาการ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างเป็นสำนัก ทำตามพันธกิจ ภารกิจเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ มีการทำงานประสานทุกสำนักร่วมกัน มีการส่งทีม ส่งคนเข้ามาทำงานร่วมกันให้เกิดการบูรณาการ มองไปที่เป้าหมายขององค์กร แล้วบอกว่าเป้าหมายนี้จะมีกลุ่มภารกิจ หรือสำนักไหน เข้ามาร่วมกันทำ หรือที่เรียกว่า Scrum Team เราจะทำงานแบบ Scrum ที่ไม่ใช่การรุมสกรัมแบบไม่มีทิศทาง แต่เราสกรัมแบบมีแพทเทิน มีทิศทางที่ดี ลดการทำงานแบบไซโล เพิ่มการทำงานแบบบูรณาการให้มากขึ้น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์แผนตอนนี้อยู่ในระยะแรก ด้านโครงสร้างเสร็จแล้ว ระยะที่สองกำลังดำเนินการในเรื่องของสตาฟ สิ่งสำคัญที่สกสว. พยายามคือการสร้างคือ Share Value หรือ Mindset เรากำลังทำการเทรนนิ่งเพื่อความเข้าใจในเรื่องการบริการจัดการแบบ Agile Organization มากขึ้น น่าจะเสร็จสมบูรณ์ประมาณเดือนกันยายน ระบบจะเป็นแบบไดมามิค ที่สามารถปรับตัวได้ตลอดเวลา
เมื่อ สกสว. ปรับเปลี่ยนระบบทั้งหมด จะเกิดประโยชน์อะไรขึ้นกับประเทศ ?
ต้องย้อนกลับไปถามว่า ทำไมต้องมี สกสว. คำถามนี้สำคัญมาก สกสว. มีขึ้นเพื่อนำนโยบายของประเทศและภาครัฐไปปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด ทั้งในแง่ของการใช้จ่ายงบประมาณ ในแง่ของการทำให้เกิด Impact กับ Outcome เพราะฉะนั้นการปรับโครงสร้างองค์กรก็ทำเพื่อตอบโจทย์ตรงนี้ เมื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างเรียบร้อย สกสว. จะสามารถเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงในการทำให้นโยบายภาครัฐลงสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ทำให้ขับเคลื่อนระบบ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ได้อย่างมีคุณค่าสูงสุด นั่นคือเป้าหมายที่ สกสว. ตั้งใจไว้